วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คณะที่จะศึกษาต่อ

คณะที่เกตน์จะเรียนเมื่อจบ ม.6 อะหรอ

ตอนแรกเกตน์ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนทางด้า่นไหน คณะอะไรที่จะเหมาะกับตัวเกตน์เอง
ตอนแรกก็เครียดค่ะ,,เพราะไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร

พอ ตอนจบ ม.3 ตอนแรกกะว่าจะมไม่ต่อที่ ร.ร กาญจนา จะไปต่อที่อู่ทอง เำพราะรู้สึกว่าถ้าเราเรียน ร.ร ที่มีชื่อเสียงใน จ. สุพรรณ การเรียนอย่างเราคงจะไปสู้คนอื่นไม่ได้ เพราะเกตน์เป็นคนที่เรียนไม่ค่อยเก่ง ( ไม่เก่งเรยก็ว่าได้ ) ก็เรียนตัดสินใจไปสอบที่ ร.ร. อู่ทอง เพราะ ร.ร อู่ทอง เป็น ร.ร. ที่ดังที่สุดใน อ. อู่ทอง อ. ที่เกตน์อยู่ ( เกตน์ก้รู้สึกเครียดเหมือนกันเพราะว่า ร.ร กาญจนากะอู่ทอง วันที่สอบมันใกล้กัน ตอนแรกนึกว่าจะสอบวันเดียวกัน แต่ผลสรุปก็คนละวันกัน ) ตอนที่กรอกข้อมูลผู้สอบเค้าห้เขียน สายที่จะเรียนมา 3อับดับ เกตน์ก้เขียน อับดับที่ 1 สาย ศิลป์-ภาษา
อันดับที่ 2 สาย ศิลป์-คำนวณ
อับดับที่ 3 สายวิทย์-คณิต

เกตน์ ก็แปลกคนนะคนส่วนใหญ่เค้าจะเขียนสาย วิทย์-คณิตอับดับ 1 แต่สำหรับเกตน์ไม่อะ ไม่อยากเรียนเลย วิทย์-คณิตอะ ( แต่แม่้เกตน์เค้าอยากให้เรียน ) เพราะตอนเด็ก ๆ เคยบอกแม่ว่าอยากเป็น "หมอ" แพทย์หญิงเกตน์นิภา มากสุริวงษ์ อะไรอย่างงี้ , แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ 555 5+


พอไปสอบข้อสอบยากมาก ก็คิดว่าน่าจะไม่ติด แต่เมื่อถึงวันที่ประกาศผลสอบ ( แอบตื่นเต้นนิดหนึ่ง !!~ )
วันนั้นเกตน์ไปดูเองที่ ร.ร อู่ทอง เพื่อที่จะด้เห็นจะตา พอผลประกาศออกมา ปรากฏว่า ...

นางสาวเกตน์นิภา มากสุริวงษ์ ร.ร กาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
ติดสาย วิทย์-คณิต อันดับที่ 4
เฮ้อ !! ,, ติดวิทย์-คณิต ซึ่งเป็นสายที่เกตน์เกลียดมากที่สุด แต่ก้ดีใจนะที่สอบติด เพราะมันเกินคาดอะ 55+
เกตน์ก้เลยขอแม่่ว่า "ขอไปสอบที่ กาญจนานะแม่ " แม่ก้โอเค

ด้วยดวามที่เราเป็นศิษย์เก่ากาญจนาก็เลยไม่ค่อยหวั่นเท่าไหร่
แต่เค้าก็มีก้เลือกสายที่จะเรียนเหมือนกัน
อันดับ 1 เกตน์เลือก ศิลป์-ภาษา
อันดับ 2 เลือก ศิลป์-คำนวณ

ข้อสอบมันก็ยากเหมือนกันนะ ( ยากมากอะ ) เห็นข้อสอบแล้วถึงกับนั่ง งง 5555 5+

พอ วันประกาศผลก็ดูทางเน็ต,,แร้ววันนั้นเกตน์ม่อยู่บ้านด้วย เหอะ ๆ อยู่บ้านน้า ก็เปิดดูเว็บ ร.ร เค้าประกาศห้อง 1-6 ก้ไม่มีชื่อเรา ห้อง 7 เค้ายังไม่ประกาศ เหอะ ๆ โคตรตื่นเต้นอะ ( เค้าลงห้อง 6 สองแผ่นห้อง 7 ไม่มี ) ก้ให้แม่โทไปบอก พอประกาศชื่อยุห้อง 7 ดัใจที่สอบติด

แต่พอ วันที่ไปเข้าค่ายธรรมะ ไปดูชื่่อเกตน์ก้ดูเฉพาะห้อง 7 อย่างเดียว เพราะชื่อเราอยู่ห้อง 7 นิ ตอนนั้นยังไม่รู้ ก็หาชื่อตัวเองไม่เจอ พอดีมาพร้อมฟาง ฟางมันสอบติดห้อง 5 มันก็ดูชื่อห้อง 5 แต่ก็ไปเจอชื่อเกตน์เกตน์อยู่ห้อง 5 เกตน์ก้บอกฟางว่าดูผิดป่าว ฟางบอกว่าไม่ผิด ชื่อเกตน์จริง ๆ ( วันนั้นดีใจมากที่ชื่ออยู่ห้อง 5 แต่ก็ยัง งง ๆ เพราะตอนประกาศผล ชื่ออยู่ห้อง 7 แต่ชั่งมันเถอะ ดีแล้วที่ติดสาย ศิลป์-คำนวณ ) !!~

สรุปว่า ร.ร กาญจนากับอู่ทองรายงานตัววันเดียวกันอีก งานนี้เกตน์ก็ต้องเลือกสิว่าจะเรียน ร.ร อะไร แม่อะอยากให้เกตน์เรียน ร.ร อู่ทอง ( เกตน์ก็อยาก้อยากเรียนเหมือนกัน ) แต่ว่า มันติดวาย วิทย์-คณิตอะดิเรยไม่เรียน ก็เลยตัดสินใจมาเรียนที่ ร.ร กาญจนา ร.ร เดิม 555 5+

พอเรียน ๆ มาก็รู้สึกว่าทางนี้แหละที่เหมาะกับเรา แม่ว่าเมื่อเทอมที่แล้ว เกตน์ได้เกรดเฉลี่ยแค่ 2.66 ( มันน้อยมาก ) รู้ตัวอยู่,,ก็เลยขยันเรียนขึ้นมา ไม่รู้ว่าเทอมนี้จะขึ้นป่าว ?? 55+ ถ้าเกรดไม่ขึ้นคงหมดหนทางที่จะศึกษาต่ออะ !! เพราะที่ไหนก็เข้าไม่ได้้

เกตน์จึงเลือกที่จะเข้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เพราะ เป็นความใฝ่ฝันของเกตน์เกตน์อย่่างหนึ่ง เพระาว่าเกตน์อยากที่จะบริการคนอื่น ให้เค้าเกิดความสุข อยากเป็์นแอร์ฮอสเตส ถ้าเกตน์จะเรียน เกตน์จะเรียนสาขา บริหารสายการบิน หรือไม่ก็ สาขา บริหารธุรกิจการโรงแรม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่เกตน์อยากเรียนมากอยาดที่จะเข้ามาเรียนรู้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ว่ามันจะเป็นยังไง แล้วแม่เคยเล่าให้ฟังว่า คณะบริหารธุรกิจเรียนแล้วสนุก เพลิน มีกิจกรรมให้ทำเยอะ ก็เลยอยากลองเรียนดู !!~


คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




เมื่อปี พ.ศ 2535 ได้แยกคณะออกจากคณะเศรษฐศาสตร์เป็นอีกคณะหนึ่งชื่อว่า “คณะบริหารธุรกิจ” เป็นคณะหนึ่งในจำนวนสิบสามคณะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศ ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 109 ตอนที่ 120 วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ 2535 ทั้งนี้เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับ อุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539) จึงเป็นผลให้มีการจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ภาควิชาดังนี้

ภาควิชาการเงิน
ภาควิชาการจัดการ

ภาควิชาบัญชี
ภาควิชาการตลาด
ภาควิชาการจัดการการผลิต





คณะบริหารธุรกิจมีหน้าที่ให้ผลิตบัณฑิต และมหาบัณฑิต จัดการเรียนการสอน การค้นคว้าวิชา การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้ดำเนินงานมา ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน

หากจะให้กล่าวย้อนหลังเพื่อความกระจ่างชัดถึงประวัติโดยละเอียด ของ คณะบริหารธุรกิจ จะสามารถลำดับความได้ดังนี้

ก่อน พ.ศ. 2481 กรม สหกรณ์ในกระทรวงเกษตราธิการ ได้จัดอบรมวิชา สหกรณ์เนื้อหาการอบรมมุ่งเน้นการบริหารธุรกิจ ในรูปสหกรณ์ เช่น ปรัญชา แนวคิดของการรวมกลุ่มธุรกิจสหกรณ์ การจัดทำบัญชี การจัดการทั่วไป เป็นต้น
กระทรวงเกษตราธิราช ต้องการให้มีการพัฒนาการเรียนอย่างจริงจัง จึงจัดตั้ง “วิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ขึ้นเป็นองค์กรที่จัดหลักสูตรอย่างเป็นทางการ และเป็นอิสระในการบริหารการศึกษา ดังนั้นแผนกวิชาสหกรณ์ จึงถูกตั้งขึ้น โดยมหลักสูตรการศึกษา 3 ปี เริ่มรับนิสิตในต้นปี
พ.ศ. 2482 และผลิตผู้สำเร็จวิชาสหกรณ์รุ่นแรก ออกมาในปลายปี พ.ศ. 2484 และจัดการศึกษาเรื่อยมาโดยแก้ไขหลักสูตรมาโดยตลอด
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือกำเนิดขึ้น แผนกวิชาสหกรณ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “คณะสหกรณ์” ซึ่งนับเป็นคณะรุ่นแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเช่นกัน เปิดการสอนถึงขั้นอนุปริญญาสืบมาจน พ.ศ. 2495 และมีผู้จบอนุปริญญารุ่นแรกปี 2486 จำนวน 18 คน การศึกษาของคณะแยกเป็น 4 แผนก คือ สหกรณ์ บัญชี เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์

ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะไดเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น “คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์”

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2509 คณะได้เปลี่ยนชื่ออีกเป็นครั้งที่ 3 โดยใช้ชื่อว่า“คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ”
ตาม ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 120 วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ให้แยกคณะเดิมออกเป็นคณะใหม่ 2 คณะ คือ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ
ปัจจุบันคณะบริหารธุรกิจมีส่วนราชการในระดับภาควิชา สำนักงานและหน่วยงานภายใน 5 ภาควิชา สำนัก 1 สำนัก และโครงการพิเศษ จำนวน 9 โครงการ ดังนี้
สำนักงานเลขานุการคณะฯ
ภาควิชาการเงิน
ภาควิชาบัญชี
ภาควิชาการเงิน
ภาควิชาการจัดการการผลิต
ภาควิชาการจัดการ
โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ (ภาคปกติ)
โครงการปริญญาตรีการบัญชีภาคพิเศษ
โครงการบัณฑิตศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ (สปท.)
โครงการบัณฑิตศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ (นานาชาติ)
โครงการปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจภาคค่ำ
โครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร
โครงการปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ (สุพรรณบุรี)
โครงการปริญญาโทการบัญชีภาคพิเศษ
โครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหารการเงิน (ภาคพิเศษ)









"เป็นภาควิชาที่ผลิตนิสิตให้เป็นผู้รอบรู้ และรู้รอบในสาขาวิชาการเงิน และเท่าทันทุกการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ คือพร้อมทั้งคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ ทั้งด้านนิตินัยและพฤตินัย และ เปี่ยมด้วย จิตสำนึกที่เห็นแก่ประโยชน์ ของประเทศชาติ บ้านเมืองเป็นที่ตั้ง"



วิสัยทัศน์ (Vision)

"ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเงินระดับนานาชาติมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับระดับ มาตรฐานสากล เป็นแกนนำในการระดมภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และสร้างคุณค่า แก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง"



พันธกิจ (Mission)


"สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเงิน อย่างต่อเนื่องเพื่อให้คณาจารย์ นิสิต และประชาชนมีศักยภาพด้านการบริหารการเงิน ในระดับนานาชาติ โดยมีมนุษยสัมพันธ์ คุณธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม "



ประวัติความเป็นมา


การจัดการศึกษาทางบริหารธุรกิจ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เมื่อปี
พ.ศ. 2486 โดยมีการสอน วิชาที่เกี่ยวกับ การบริหารธุรกิจในคณะสหกรณ์

ต่อมาปี พ.ศ.2496 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะสหกรณ์และเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ.2499 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ โดยเปิดสอนหลักสูตร เศรษฐศาสตร์สหกรณ์บัณฑิต (ศส.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตร 5 ปีโดยแยกการเรียนการสอนเป็น 2 สาขาคือ สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร และสหกรณ์ และ สาขาเศรษฐศาสตร์บัญชีและธุรกิจ

ต่อมาปี พ.ศ.2508 จึงได้ปรับปรุงหลักสูตร นี้เพื่อลดระยะเวลาการศึกษา จากหลักสูตร 5 ปี เป็น 4 ปี ปี พ.ศ.2509 ได้เปลี่ยนชื่อคณะอีกครั้ง เป็นคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ พร้อมทั้ง จัดตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจขึ้น เพื่อรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตร ศิลปศาสตร์บัณฑิต(บริหารธุรกิจ) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2509 – 2510 ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาศศบ.(บริหารธุรกิจ) ต่อมาได้ปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น วิทยาศาสตร์บัณฑิต (บริหารธุรกิจ) เมื่อปีการศึกษา 2516 – 2517 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วท.บ. (บริหารธุรกิจ) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2535 คณะเศรษฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจได้แยกออกเป็น 2 คณะคือ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 20 ซึ่งมีภาควิชาการตลาด ภาควิชาบริหารธุรกิจ และภาควิชาบัญชีขึ้นกับ คณะบริหารธุรกิจ โดยที่ภาควิชาบริหารธุรกิจได้แยกเป็น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาการเงิน ภาควิชาการจัดการ และ ภาควิชาการจัดการผลิต ดังนั้น คณะบริหารธุรกิจ จึงประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการคณะ กับ 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการเงิน ภาควิชาการจัดการ ภาควิชาการจัดการผลิต ภาควิชาการตลาด ภาควิชาบัญชี

ภาควิชาการเงินจึงเป็นภาคหนึ่งในคณะบริหารธุรกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อปีการศึกษา 2541–2542 คณะบริหารธุรกิจได้ปรับปรุง หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(การเงิน) โดยปรับปรุงเนื้อหารายวิชา และยุบรวมรายวิชา พร้อมทั้งเพิ่มรายวิชาใหม่ๆ เพื่อให้หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตทันสมัยยิ่งขึ้น สำหรับการจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา าขาบริหารธุรกิจ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2527-28 โดยมีหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงิน (บธ.ม. – การเงิน)

ปรัชญา ปณิธาน

" ภาควิชาการจัดการ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพทางด้านการบริหารการจัดการ เสริมสร้างให้เป็นคนที่มีความเจริญทางสติปัญญา มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีจิตสำนึกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมเป็นหลัก สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สร้างความเจริญให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ"



วิสัยทัศน์

" ภาควิชาการจัดการมีความเป็นเลิศทางด้านบริหารการจัดการที่ทันสมัย เป็นแกนนำในการระดมภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมและพัฒนาประเทศชาติอย่างต่อ เนื่อง"



ประวัติความเป็นมา

เมื่อ ปี พ.ศ.2535 ได้แยกคณะออกจากคณะเศรษฐศาสตร์เป็นอีกคณะหนึ่งชื่อว่า“คณะบริหารธุรกิจ”เป็น คณะหนึ่งในจำนวนสิบสามคณะของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอน ที่ 120 วันที่ 18 ธันวาคม 2535ทั้งนี้เป็นไปตาม แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) จึงเป็นผลให้มีการจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ภาควิชาดังนี้

1. ภาควิชาการจัดการ
2. ภาควิชาการเงิน
3. ภาควิชาบัญชี
4. ภาควิชาการตลาด
5. ภาควิชาการจัดการการผลิต

ปี การศึกษา 2541-2542 คณะบริหารธุรกิจ ได้ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจ (สาขา การจัดการ) โดยปรับปรุงเนื้อหารายวิชาและยุบรวมรายวิชา พร้อมทั้งเพิ่มรายวิชาใหม่ ๆ เพื่อให้หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตมีความทันสมัยยิ่งขึ้น รวมจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต ปีการศึกษา 2549 ภาควิชาการจัดการ ได้มีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชา ชื่อราย วิชาพร้อมทั้งเปิดรายวิชาใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการและทันสมัยยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับ ปริญญาโทสำหรับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาสาขา บริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับโครงการบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ โดยมีหลักสูตร บริหารธุรกิจ บธ.ม. (การจัดการ)

ปรัชญา ปณิธาน

" ภาควิชาการจัดการการผลิตเป็นภาควิชาที่มีปณิธานมุ่งมั่นในการสั่งสมเสาะแสวง หา และพัฒนาความรู้ด้านการจัดการการผลิตให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญา ที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการจริยธรรม และคุณธรรมตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทางสืบทอดเจตนารมย์ที่ดีของสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ และความเป็นอารยะของชาติ"



วิสัยทัศน์

" ภาควิชาการจัดการการผลิต มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านการจัดการการ ผลิตระดับนานาชาติ มีผลงานเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล เป็นแกนนำในการระดมภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และสร้างคุณค่าแก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง "



ประวัติความเป็นมาิ

การจัดการศึกษาทางบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มขึ้นพร้อมกับการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2496 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะสหกรณ์และเศรษฐศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ โดยเปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์บัณฑิต (ศส.บ.) ซึ่งเป็นหลัก สูตร 5 ปี โดยแยกการเรียนการสอนเป็น 2 สาขา คือ

1. สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสหกรณ์
2. สาขาเศรษฐศาสตร์บัญชีและธุรกิจ

ต่อมาปี พ.ศ. 2508 จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรนี้เพื่อลดระยะเวลาการศึกษาจากหลัก สูตร 5 ปี เป็น 4 ปี พ.ศ. 2509 ได้เปลี่ยนชื่อคณะอีกครั้ง เป็นคณะเศรษฐศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ พร้อมทั้งจัดตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจขึ้น เพี่อรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (บริหารธุรกิจ) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2509 – 2510 ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา ศศ.บ. (บริหารธุรกิจ) ต่อมาได้ปรับปรุงและ เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น วิทยาศาสตร์บัณฑิต (บริหารธุรกิจ) เมื่อปีการศึกษา 2516 – 2517 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วท.บ. (บริหารธุรกิจ) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2535 คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ ได้แยกออกเป็น 2 คณะ คือ
คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ
ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 109 ตอนที่ 20 ซึ่งมีภาควิชาการตลาด ภาค วิชาบริหารธุรกิจ และ ภาควิชาบัญชีขึ้น กับคณะบริหาร โดยที่ภาควิชาบริหารธุรกิจได้แยกเป็น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาการเงิน ภาค วิชาการจัดการ และภาควิชาการจัดการการผลิต ดังนั้น คณะบริหารธุรกิจจึงประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการคณะกับ 5 ภาค วิชา ได้แก่ ภาควิชาการเงิน ภาควิชาการจัดการ ภาควิชาการจัด การการผลิต ภาควิชาการตลาด และภาควิชาบัญชี ภาควิชาการจัดการการผลิตจึงเป็นภาคหนึ่งในคณะบริหารธุรกิจตั้งแต่นั้นเป็น ต้นมา

ปรัชญา ปณิธาน

"ภาควิชาบัญชีเป็นหน่วยงานการศึกษาทางการบัญชีชั้นนำอันเป็นที่ยอมรับในระดับชาต ิมุ่งมั่น สั่งสมพัฒนาและ
บูรณาการความรู้ด้านบัญชีให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญา ที่เพียบพร้อม ด้วยวิชาการ จริยธรรมและคุณธรรม สืบทอดเจตนารมณ์ที่ดีของสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ และความเป็นอารยะของชาติอย่างยั่งยืน"



วิสัยทัศน์

"ภาควิชาบัญชีมุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านบัญชีเพื่อพัฒนาประเทศและสังคมอย่างยั่งยืนรวมทั้งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ"



พันธกิจ (Mission)

" ภาควิชาบัญชีผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม พัฒนาองค์ความรู้ด้านบัญชี อย่างต่อเนื่อง ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และสืบทอดศิลปวัฒนธรรม"



ประวัติความเป็นมา

การ จัดการศึกษาวิชาการบัญชี ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2486 โดยมีการสอนวิชาบัญชีในคณะสหกรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะสหกรณ์และเศรษฐศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ เปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์บัณฑิต (ศส.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตร 5 ปี โดยแยกการเรียนการสอนเป็น 2 สาขา คือ 1) สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและ สหกรณ์ และ 2) สาขาเศรษฐศาสตร์บัญชีและธุรกิจ และได้เริ่มรับนิสิตที่เรียนเน้นหนักทางการบัญชีเป็นรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2503 – 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรนี้ เพื่อลดระยะเวลาการศึกษาจากหลักสูตร 5 ปี เป็น 4 ปี


ประวัติความเป็นมาภาควิชาการตลาด

การ จัดการศึกษาทางบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2486 โดยมีการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจคณะสหกรณ์ ต่อมาปี พ.ศ. 2496 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะสหกรณ์และเศรษฐศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ โดยเปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ โดยเปิดหลักสุตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์บัณฑิตย์ (ศส.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตร 5 ปี โดยแยกการเรียนการสอนเป็น 2 สาขา คือ

1. สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสหกรณ์
2. สาขาบัญชีธุรกิจต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรนี้เพื่อลดระยะเวลาการศึกษา จากหลักสูตร 5 ปี เป็น 4 ปี

ปี พ.ศ. 2509 ได้ เปลี่ยนชื่อคณะอีกครั้ง เป็นคณะเศรษฐศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ พร้อมทั้งจัดตั้งภาควิชาการตลาดขึ้น เพื่อรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาการตลาด ตั้งแต่ปีการศึกษา 2509-10 ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา ศศ.บ. (การตลาด) ต่อมาได้ปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น วิทยาศาสตร์บัณฑิต (การตลาด) เมื่อปีการศึกษา 2516-2517 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วท.บ. (การตลาด)

ในปีการศึกษา 2531-2532 ภาควิชาการตลาด ได้ปรับปรุงหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น บริหารธุรกิจบัณฑิต ดังนั้นนิสิตที่เข้าศึกษาในภาควิชาการตลาด ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531-2532 เป็นต้นไปจะได้รับปริญญา บธ.บ. (การตลาด)

เมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2535 คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ ได้แยกออกเป็น 2 คณะคือ คณะเศรษฐศาสตร์ และ คณะบริหารธุรกิจ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 20 ซึ่งภาควิชาการตลาด ภาควิชาบริหารธุรกิจและภาควิชาบัญชี ขึ้นกับคณะบริหารธุรกิจ โดยที่ภาควิชาบริหารธุรกิจได้แยกเป็น 3 ภาควิชาคือ ภาควิชาการเงิน ภาควิชาการจัดการ และภาควิชาการจัดการการผลิต ภาควิชาการตลาด จึงเป็นภาคหนึ่งในคณะบริหารธุรกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาในปีการศึกษา 2541-2542 คณะบริหารธุรกิจได้ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด) โดยปรับปรุงเนื้อหารายวิชา และยุบรวมบางรายวิชา พร้อมทั้งเพิ่มรายวิชาใหม่ๆ เพื่อให้หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตทันสมัยยิ่งขึ้น

สำหรับ การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาการตลาด ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับโครงการบัณฑิตย์ศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2527-2528 โดยมีหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.ม.) ซึ่งมีวิชารอง หรือวิชาเฉพาะหมวดการตลาด


หลักสูตรปริญญาตรี (BA) :

ชื่อหลัีกสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Management

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (การจัดการ)

ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Bachelor of Business Administration (Management)
ชื่อย่อ : B.B.A. (Management)

ปรัชญาและ/หรือ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การจัดการเป็นศาสตร์สำคัญสำหรับการดำเนินกิจการใดๆให้ประสบความ สำเร็จ ช่วยนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหลัก สูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
จึงมีความจำเป็นและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างบุคลากรให้รู้และเข้าใจหลักของการจัดการเพื่อ
ประยุกต์ใช้และพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการให้มีความรู้ความสามารถในการ
บริหารจัดการธุรกิจ
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ด้านการจัดการธุรกิจเพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าวิจัยในสาขานี้
และสาขาที่เกี่ยวข้อง


หลักสูตรปริญญาโท (MA) :

ชื่อหลัีกสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ภาษาอังกฤษ : Master of Business Administration Program in Business Administration

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ : บธ.ม.

ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Business Administration
ชื่อย่อ : M.B.A.

ปรัชญาและ/หรือ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
พัฒนาความรู้ด้านบริหารธุรกิจมุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจเพื่อการประกอบอาชีพ
และให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1. ผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารธุรกิจ
2. พัฒนามหาบัณฑิตให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญาที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ
ด้านบริหารธุรกิจ มีจริยธรรม และคุณธรรม
3. พัฒนาความรู้ด้านบริหารธุรกิจ มุ่งความเป็นเลิศในการนำองค์ความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น